วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

KF1I-PIX001 QRP Transceiver CW 7.023 MHz. KIT

KF1I-PIX001 : QRP Transceiver CW 7.023 MHz. KIT



Introduction :

ปัจจุบันมีนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น สอบผ่านเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางกันขึ้นมามาก อีกทั้งบางส่วนมาจากการเทียบประกาศนียบัตรนักวิทยุสมัครเล่น แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งบางท่านอาจจะคิดว่าเครื่องวิทยุรับ-ส่ง ในย่าน HF มักจะมีราคาแพง บางท่านสอบได้แต่ก็ไม่มีโอกาสได้ออกอากาศเพราะติดปัญหาเรื่องเครื่องวิทยุ

KF1I-PIX001 : QRP Transceiver CW 7.023 MHz. KIT จึงเป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งที่เพื่อน ๆ นักวิทยุฯ ที่ผ่านการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง จะสามารถที่จะประกอบและใช้งานได้

ซึ่ง KF1I-PIX001 : QRP Transceiver CW 7.023 MHz. KIT  มีขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะสำหรับนักวิทยุฯ มือใหม่ที่สนใจต้องการหัดประกอบเครื่องเอง เพื่อศึกษา และสามารถใช้งานได้จริง ไม่ต้องมีความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ ก็สามารถประกอบได้ ขอเพียงให้มีความสามารถในการบัดกรีเท่านั้น

KF1I-PIX001 : QRP Transceiver CW 7.023 MHz. KIT  เป็นเครื่องรับ-ส่ง แบบ QRP โหมด CW กำลังส่งประมาณ 1.2 Watts ที่ไฟ 12 Volts. ความถี่ 7.023 MHz. Mode CW อย่างเดียว (ไม่มีกล่อง) โดยผมได้นำวงจรของต่างประเทศแบบง่าย ๆ มาดัดแปลงและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หาได้ในบ้านเรา และผมได้เขียนคำอธิบายวิธีการประกอบไว้อย่างชัดเจน ซึ่งไม่ยากเกินไปนักสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มหัดการบัดกรี ก็สามารถที่จะสร้าง   Homebrew Ham Toy Kit เองได้


ในการสร้างวงจรที่จะกล่าวต่อไปนี้ ผู้ใช้งานจะต้องจัดหากล่อง , สายอากาศ และแหล่งจ่ายพลังงานเอง 



เริ่มการประกอบ :
1.  เริ่มจากการลงอุปกรณ์เล็ก ๆ ประเภทอุปกรณ์ที่ไม่มีขั้ว (ดูสีตามรายละเอียดใน Part List) ตามลำดับดังต่อไปนี้
1.1  IC Socket
1.2  R1 , R2 , R3 , R4 , R5 , R6 , R7
1.3  W1
1.4  L1 , L2 , L3
1.5  C1
1.6  C2 , C4 , C8 , C11
1.7  C3 , C7
1.8  C5 , C6
1.9  C9 , C10


2.  จากนั้นลงอุปกรณ์ประเภทมีขั้ว +/- คือ Electrolytic Capacitor , DIODE และ TRANSISTER ดังต่อไปนี้
2.1  CP1 , CP2 , CP3 , CP4 (สังเกตที่อุปกรณ์จะมีขั้ว (-)เขียนบอกไว้ ด้านที่ไม่เขียนคือ ขั้ว (+)




2.2  D1 , D2 (1N4001) ซึ่ง DIODE จะเป็นอุปกรณ์ที่มีขั้ว (ดูขั้วของ DIODE ตามภาพประกอบว่าฝั่งไหนคือ Anode (+) ฝั่งไหนคือ Cathode (-))

2.3  จากนั้นก็มาลงอุปกรณ์ประเภท TRANSISTOR คือ Q1 (9018) ซึ่งเป็น Transistor แบบ NPN และ , Q2 (8050) ซึ่งเป็น Transistor แบบ PNP


3.  จากนั้นลงอุปกรณ์ประเภท XTAL คือ Y1

4.  จากนั้นลงอุปกรณ์ประเภท Connector ดังต่อไปนี้
4.1  J1 (DC-IN)
4.2  J2 (BNC)
4.3  J3 , J4 (3.5mm KEY และ PHONE)

5.  จากนั้นค่อยนำ U1 มาเสียบบน Socket เป็นอันเสร็จสิ้นการประกอบ โดยจะเป็นดังภาพนี้ (ภาพประกอบ)


6.  จากนั้นก็หากล่องมาประกอบใส่ให้เรียบร้อยก็จะได้เครื่องรับ-ส่งวิทยุที่เราประกอบขึ้นมาเอง โดยอาจจะหากล่องขนมที่มีขายตามร้านสะดวกซื้อมาเป็นกล่องของเจ้าตัวนี้ก็ได้นะครับ ก็สวยไปอีกอย่างหนึ่ง และหาอุปกรณ์ง่าย



ข้อควรระวังในการประกอบวงจร :
1.  ขั้ว +/- ของ CP1 , CP2 , CP3 , CP4
2.  ขั้ว +/- ของ D1 , D2 , D3
3.  ขาของ Q1 , Q2 (ให้ดูที่ PCB จะบอกด้านของ Q1 , Q2 ให้ลงอุปกรณ์ตาม PCB)  
4.  ขาของ U1 (ดูที่ PCB จะมีภาพบอกการใส่ ให้ใส่อุปกรณ์ตาม PCB)
            
วิธีการใช้งาน :
1.  ต่อสาย DC-IN ระวังอย่าให้ไฟเกิน 12 Volts. แนะนำให้ใช้ 9V. Battery จะดีที่สุด
2.  ต่อลำโพงนอกที่ช่องลำโพงเพื่อใช้ฟัง หรือ เสียบหูฟัง
3.  ช่อง KEY ถ้าใช้ Straight Key ต่อเข้าได้เลย แต่ถ้าต้องการใช้ Paddle Key จะต้องมี MORSE Keyer (KF1I-OIKey-F88) อีกตัวหนึ่งถึงจะสามารถใช้งาน Paddle Key ได้ (ภาพประกอบ)
4.  Variable Resister ใช้สำหรับจูนภาครับปรับให้รับได้สัญญาณที่ชัดเจนที่สุด 
5.  เพื่อนๆ สามารถที่จะปรับเพิ่มไฟแสดงสถานะ และ SWITCH ON-OFF ให้กับ KF1I-PIX001 ได้อีกด้วย โดยไฟแสดงสถานะเพียงเพิ่มหลอด LED และ R1K Ohm. นำมาต่ออนุกรมกัน โดยR1K ต่ออนุกรมที่ขา + (Anode) ของ LED (ภาพประกอบ)      







หากเพื่อน ๆ ท่านใดที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการประกอบ สามารถสอบถามได้ที่
facebook : http://www.facebook.com/kb1vch
facebook page : qrp ham toy kit
blog : http://e21izc.blogspot.com
email : wichyein@gmail.com
ID line : kf1i

ขอให้ทุกท่านสนุกกับการประกอบครับ
" Homebrew Ham Toy , It's not rocket science.
การสร้างอุปกรณ์วิทยุสมัครเล่นไม่ยากอย่างที่คุณคิด "

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

KF1I-CCS001 USB CAT , CW and Soundcard Interface







KF1I USB CAT , CW and Soundcard Interface KIT : Model : KF1I-CCS-001

บทนำ :-

          ต่อเนื่องจากเรื่องที่แล้ว ที่ผมนำวงจร Soundcard Interface แบบง่าย ๆ มาให้เพื่อน ๆ ลองทำกัน คงมีเพื่อน ๆ ที่ให้ความสนใจนำไปลองทำกัน และนำไปใช้งานกันบ้างแล้ว

          ฉบับนี้ ผมจึงมาต่อยอดจากเรื่องที่แล้ว โดยนำวงจร Soundcard Interface มาประยุกต์ให้สามารถใช้ได้กับ CW บน Electronic Log เช่น โปรแกรม N1MM และเป็น CAT Interface (Computer Aided Tuning) ได้ด้วย (CAT Interface คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และวิทยุสื่อสาร สำหรับการส่งสัญญาณเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถควบคุมการทำงานที่เครื่องวิทยุได้โดยการใช้โปรแกรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น) โดยผมได้เพิ่มอุปกรณ์บางอย่างเข้าไปเพื่อให้สามารถทำงานได้ทั้ง 2 อย่างในกล่องใบเดียว และผมได้ใช้ USB to RS232 เพื่อให้สามารถใช้ได้กับ USB Port ได้อีกด้วย

การประกอบวงจร :-

บัดกรีอุปกรณ์ต่าง ๆ ลงบนแผ่นปรินท์อเนกประสงค์ โดยเริ่มจาก

Soundcard Interface
1.  T1
2.  จากนั้นตามด้วย VRA20K , T2
3.  D1 , D2 , R1 , R2 และ IC1 ตามลำดับ
         
CW Interface
4.  D3 , C1 , IC2

CAT Interface
5.  T3 , T4 , R3 , R4 , D4 และ D5
         
ส่วนของ Connector
6.  หลังจากประกอบอุปกรณ์ลงบนแผ่นปรินท์อเนกประสงค์เรียบร้อยแล้ว ก็มาประกอบอุปกรณ์ในส่วนที่เป็น Connector โดยเริ่มจาก J1 , J2 , J3 , DB9 (ตัวเมีย) , 8 Pin MIC Plug (ตัวผู้) 
7.  หลังจากนั้นประกอบสายสำหรับต่อเข้าวิทยุ และสายสำหรับเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
7.1  8 Pin MIC Jack และ 6 Pin mini Din Plug (สำหรับ Soundcard Interface) ,
7.2  DB9 (ตัวผู้) และ 8 Pin mini Din Plug (สำหรับ CAT Interafce) ,
7.3  P1 , P2 สำหรับ คอมพิวเตอร์ MIC ,
7.4  P3 , P4 สำหรับ Computer ลำโพง ,
7.5  P5 , P6 สำหรับ CW Key.
(ดูภาพประกอบ หน้า : 9 , 10 , 11)

ข้อควรระวัง :-

1.  ตรวจสอบขั้ว +/- of D1, D2 , D3 , D4 และ D5 ว่าต่อถูกต้องหรือไม่ 
2.  ขั้ว +/- ของ D2 , D3 , D4 และ D5 ถ้าต่อสลับขั้ว การทำงานจะตรงข้ามกัน โดย ในโหมด Standby กรณีต่อสลับขั้ว ไฟจะติด และในเวลาส่งไฟจะดับ (ที่ถูกต้องคือ Standby Mode ไฟจะดับ ในเวลาส่งไฟจะติด)
3.  การต่อ VR A20K ถ้าต่อสลับข้าง การทำงานจะตรงข้ามกัน  การหมุนที่ถูกต้องคือ หมุนตามเข็มนาฬิกา

วิธีการใช้งาน :-
1.  ต่อสายคอมพิวเตอร์ MIC และ สายคอมพิวเตอร์ Speaker ด้านหน้าของกล่อง KF1I-CCS-001 ที่ช่อง J1 และ J2 (ดูภาพประกอบ หน้า : 10)
2.  ต่อ สาย 8 Pin MIC Jack (ด้านตัวเมีย) ที่ด้านหลังของ KF1I-CCS-001 และอีกฝั่งหนึ่งจะเป็น 6 Pin mini Din Plug ให้นำไปต่อที่ช่อง DATA ของเครื่องวิทยุด้านหลัง 
(ดูภาพประกอบ หน้า : 10)
3.  ต่อสาย 8 Pin mini Din Plug ที่ด้านหลังของ วิทยุช่อง CAT และอีกฝั่งหนึ่งจะเป็น DB9 (ตัวผู้) นำไปต่อที่ด้านหลังของ KF1I-CCS-001. (ดูภาพประกอบหน้า : 10)
4.  ต่อ USB to RS232 ที่ด้านหลัง KF1I-CCS-001 และอีกฝั่งต่อเข้าที่ USB Port 
ของคอมพิวเตอร์
5.  โปรแกรมสำหรับ Digital Mode เช่น JT65-HF , MMTTY , Airlink Express , WSJT-X และอื่น ๆ โดยอย่าลืม Config Com Port ในโปรแกรมด้วย
6.  CAT Interface , ต้องเลือก Radio Name ในโปรแกรมที่ใช้งาน

7.  CW Interface , เลือก Com Port และ Setup ดังต่อไปนี้
การ Config Com Port
การ Config วิทยุที่จะใช้งาน


การ Config CW Interface (DTR)


การ Config CW Interface (RTS)


หมายเหตุ : ผู้เขียนใช้โปรแกรม N1MM เป็นโปรแกรมทดสอบ










วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หม้อแปลง BALUN ในสายอากาศ

มันคืออะไร? / What is this?

ตามผมมาแล้วท่านจะเข้าใจครับ

หม้อแปลง BALUN ในสายอากาศ

balun (ย่อมาจาก balanced-unbalanced) หม้อแปลงบาลันเป็นอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ชนิด passive (คือไม่มีการขยายสัญญาณ ไม่ต้องการไฟเลี้ยง) ทำหน้าที่เป็นแปลง ระหว่าง ระบบสมดุล (balanced) กับ ระบบไม่สมดุล (unbalanced) และบ่อยครั้งที่เราใช้ หม้อแปลง บาลัน ในการแปลง impedance ของสายอากาศ และสายนำสัญญาณให้เหมาะสมกัน

ตัวอย่าง ในกรณีที่เราต่อสาย Coaxial (เป็นสายแบบ ไม่สมดุล Unbalance line) เข้ากับสายอากาศไดโพล (สายอากาศแบบสมดุล balance) จะทำให้กระแสบนสายอากาศไดโพลในแต่ละซึกไม่เท่ากัน รูปแบบการแพร่กระจายคลื่นเลยผิดเพี้ยนไป แต่สามารถแก้ไขได้โดยการใช้หม้อแปลงบาลันช่วย
ในรูปจะเป็นบาลัน 1:1



Balun 1 : 1

I construction with balun 1:1 on FT114-43 and RG174 with water proof box as photo below :-







OIKey-F88 Morse Keyer Homebrew

มีเพื่อน ๆ ถามผมมาหลายท่านเรื่อง Morse Machine ว่าจะทำยังไงดี จะหาซื้อก็มีราคาแพงเหลือหลาย

เมื่อหลายปีก่อน มีพี่ชายใจดีของผม พี่วรา (พี่ป้อม) E21AOY Also JE6HAM , KE2Y เคยนำของดี ๆ จากแดนปลาดิบมาให้ได้ทำกัน เป็นชุดคิท ก็เลยเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางรุ่นใหม่ ๆ น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ในการฝึก และใช้ในการติดต่อสื่อสารใน HF

OIKey-F88 เป็น Morse Machine และ Simulator ในตัวมันเอง พัฒนาโดยนักวิทยุสมัครเล่นชาวญี่ปุ่น MR.Hidaka สัญญาณเรียกขาน JA1HHF ซึ่งการใช้งานนั้น ผู้ใช้สามารถที่จะใช้เป็นตัวสร้างสัญญาณรหัสมอร์สแบบปกติ , แบบการอัดไว้ล่วงหน้า และสำหรับการฝึกรับ โดย OIKey-F88 นี้จะ Random สัญญาณเรียกขานต่าง ๆ จากทุกมุมโลกออกมาให้ท่านได้ฝึกรับ เสมือนท่านอยู่ในบรรยากาศใกล้เคียงการติดต่อจริง

OIKey-F88 ได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือ CQ HAM RADIO เดือนมิถุนายน ปี 2008 เป็น Keyer ที่ปรับ speed ช้า-เร็วแบบ VR volume หมุน เพื่อสะดวกในการใช้งานจริง สามารถส่งแบบ repeat รวมทั้งมี 4 channel message memory บันทึกตัวอักษร & ตัวเลข ไว้เรียก CQ ใช้แข่งขัน contest หรือข้อความที่ใช้บ่อยๆ ได้ 4 ช่อง memory ข้อมูลไม่ถูกลบแม้ไม่มีไฟเลี้ยง, สามารถบันทึก-ลบข้อมูลได้ล้านครั้ง และสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ 40 ปี

จากต้นฉบับผมได้ปรึกษาพี่ต๊อบ HS0NNU ในการที่จะ Modified ให้เพิ่ม Speed ได้มากขึ้น และเสียงที่ดังขึ้น อีกทั้งอุปกรณ์บางอย่างที่จะต้องดัดแปลง เพราะว่าไม่มีขายในเมืองไทย โดยบางอย่างต้องแปลงดังนี้

1. XTAL แบบ 3 ขา แนะนำให้ใช้ XTAL แบบธรรมดา ที่มีขายในบ้านเราได้ แต่ที่มีขายในบ้านเราเป็นแบบ 2 ขา ต้องใช้ C เซรามิค 30pf 16V ขึ้นไป มาต่อ คล่อมที่ขา 1 กับ ขา 2 และ ขา 2 กับ ขา 3 (ใช้ 2 ตัว) (เครดิตอาจารย์ต๊อบ / HS0NNU)

2. Voltage Regulator TA48M05F บ้านเราก็ไม่มีเช่นกัน ให้ใช้ LM2940CT-5.0 แทน มีขายที่ electronics Source (เครดิตอาจารย์ต๊อบ / HS0NNU)

3. Buzzer ให้ใช้เบอร์ OBO-1206C-A2 ที่ electronics source เช่นเดียวกัน (เครดิตอาจารย์ต๊อบ / HS0NNU)

4. Variable resistor ให้ใช้ B5K แทนได้ และจะได้ speed มากกว่า (อันนี้ผมลองเอง)
นอกนั้นหาอุปกรณ์อื่น ๆ หาได้ตามบ้านหม้อทั่วไป

5. ปุ่มสวิทย์ แนะนำให้ใช้สวิทย์นอกจะดีกว่า เพราะกดสะดวก ใช้เป็นแบบ 2 ขา ดูบนแผ่นปรินท์ จะ Jump แค่ 2 ขาเท่านั้น

ุ6. Jack Radio and Jack Paddle เช่นเดียวกัน ต่อลอยจะสวยกว่า ดูจากหลังปรินท์ จะเป็นจุดที่ใช้ ซึ่ง Jack Radio ใช้ 2 เส้น ส่วน Jack Paddle ใช้ 3 เส้น

7. แนะนำให้ต่ออุปกรณ์ลอยจะดีกว่า เพราะทำให้ลงกล่องง่ายขึ้น วิธีการเจาะกล่อง ให้ทำแผ่น Plate ขึ้นมาก่อน โดยอาจจะวาดจากในคอม แล้วปรินท์ด้วยกระดาษสติกเกอร์ จากนั้นให้เอาสติกเกอร์ใส หุ้มทับอีกทีจะดูสวยงามมาก

8. การเจาะกล่องหากเป็นกล่องอลูมิเนียม แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่เป็นแบบกลมจะดีกว่า เพราะเจาะง่าย หากเป็นสี่เหลี่ยม จะทำให้การเจาะยาก และจะไม่ค่อยสวย

สำหรับ HEX File สามารถ Download ได้ที่ http://www.hi-ho.ne.jp/hida/pic45.htm

สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจลองทำกันดูนะครับ หรือถ้ามีคำถามก็ทิ้งไว้ที่เพจนี้ได้นะครับ จะได้มีของเล่นใหม่ ๆ ได้ใช้งานกันครับ

Many Thank
JA1HHF คุณฮิดากะ ที่ทำของเล่นอย่างดีออกมาให้พวกเราใช้
E21AOY พี่ป้อม ที่แปลวิธีใช้ , และข้อมูลต่าง ๆ มาให้พวกเราได้ใช้ของดีกัน
HS0NNU พี่ต๊อบ ที่ช่วย Modified ให้สามารถใช้งานได้เกิดประโยชน์สูงสุด และแปลงอุปกรณ์ที่มีในท้องตลาดให้ใช้งานแทนกันได้


















KF1I-SCIF001 : SOUNDCARD INTERFACE FOR DIGITAL MODE

Introduction :
            
Soundcard Interface หรือ Audio Interface คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดเสียงของคอมพิวเตอร์เพื่อสำหรับการรับและส่ง สัญญาณเสียงโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการส่งและรับ สำหรับ Digital Mode เช่น SSTV , RTTY , PSK31 , JT9 , JT65 และ echolinks

Soundcard Interface หรือ Audio Interface ไม่ได้ทำหน้าที่ เป็น Data Controllers หรือ เป็น TNC หรือใช้ในการประมวลผลสัญญาณ (Signal Processors)

Soundcard Interface หรือ Audio Interface ทำหน้าที่ ดังนี้
- Couple สัญญาณเสียงจากภาครับวิทยุ (Radio receiver) ไปที่ ภาครับสัญญาณเสียงของคอมพิวเตอร์ (Computer sound input)
- Couple สัญญาณเสียงคอมพิวเตอร์ (Computer-generated audio) จาก Soundcard output ไปที่ภาคส่งของภาคส่งวิทยุ (Radio transmitter)

ปัจจุบันมีนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น สอบผ่านเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางกันขึ้นมามาก อีกทั้งบางส่วนมาจากการเทียบประกาศนียบัตรนักวิทยุสมัครเล่น แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Digital Mode ก็เป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถที่จะใช้งานได้ แต่อาจจะติดด้วยเรื่องของอุปกรณ์จะทำอย่างไรดี ซึ่งต่างก็มีหลากหลายวงจรมากในการที่จะสร้าง Soundcard Interface หรือ Audio Interface ตัวนี้

ซึ่งในที่นี้ผมได้นำวงจรของต่างประเทศมาดัดแปลงและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หาได้ในบ้านเรา โดยPCB ที่ใช้ ใช้เป็นแผ่นปรินท์อเนกประสงค์ เพื่อให้ง่ายต่อการสร้างวงจรนี้ โดยการประกอบวงจร ก็สามารถดูตาม Layout บนแผ่นปรินท์อเนกประสงค์ที่ผมได้ออกแบบไว้ได้เลย ซึ่งไม่ยากสำหรับนักวิทยุฯ มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มหัดการบัดกรี ก็สามารถที่จะสร้าง Homebrew Ham Toy Kit เองได้

ในการสร้างวงจรที่จะกล่าวต่อไปนี้ ผู้ใช้งานจะต้องจัดทำปลั๊กที่ต่อเข้าเครื่องเอง โดยดูจากการทำงานของวิทยุนั้น ๆ ก็จะสามารถใช้งานได้ ในวิทยุทุกรุ่น 



เริ่มการประกอบ :

1.  เริ่มจากการลงอุปกรณ์บนแผ่นปรินท์อเนกประสงค์ ตาม Layout โดยเริ่มจาก Part I คือ T1
2.  จากนั้นจะเป็น Part II คือ VR A1K , T2
3.  ต่อด้วย Part III คือ D1 , D2 , R1 , R2 , IC1
4.  จากนั้นจึงมาต่ออุปกรณ์ในชุด Connecter ซึ่งประกอบด้วย J1 , J2 , DB9 , 8 Pin MIC Plug (Male)
5.  จากนั้นจึงมาประกอบ สายต่อเข้าเครื่องวิทยุ (8 Pin MIC Jack กับ 6 Pin mini Din Plug)





ข้อควรระวังในการประกอบวงจร :

1.  ขั้ว +/- ของ D1  
2.  ขั้ว +/- ของ D2 กรณีประกอบผิด Standby ไฟจะติด เวลาส่งไฟจะดับ ที่ถูกต้องคือ Standby ไฟจะดับ เวลาส่งไฟจะติด
3.  ขาการทำงานของ VR A1K กรณีประกอบผิด การหมุนจะกลับทิศทางกัน
                                                  
วิธีการใช้งาน :

1. นำสาย Com MIC และ Com SPK. ต่อเข้าที่หน้า Soundcard Interface ที่ J1 และ J2 อีกข้างหนึ่ง นำมาต่อเข้าที่คอมพิวเตอร์ในช่อง MIC และ SPK.
2. นำสาย 8 Pin MIC Jack กับ 6 Pin mini Din Plug โดย ข้าง 8 Pin MIC Jack ต่อเข้าด้านหลังของ Soundcard Interface และ ข้างที่เป็น 6 Pin mini Din Plug ต่อเข้าด้านหลังของเครื่องวิทยุช่อง DATA
3. นำสาย USB to RS232 ต่อเข้า Soundcard Interface โดยฝั่งที่เป็น DB9 (Male) ต่อที่หลัง Soundcard Interface และฝั่งที่เป็น USB ต่อเข้าที่ช่อง USB ของคอมพิวเตอร์
4. โปรแกรมการใช้งานมีหลายโปรแกรม อาทิเช่น JT65-HF , MMTTY , Airlink Express , WSJT-X หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่แต่ละท่านสะดวกในการใช้งาน โดยก่อนการใช้อย่าลืม Config Comport ให้ตรงกับ Comport ที่เราใช้งาน

หากเพื่อน ๆ ท่านใดที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการประกอบ สามารถสอบถามได้ที่

facebook : http://www.facebook.com/kb1vch
facebook page : qrp ham toy kit
email : wichyein@gmail.com
ID line : kf1i

ขอให้ทุกท่านสนุกกับการประกอบครับ

" Homebrew Ham Toy , It's not rocket science.



การสร้างอุปกรณ์วิทยุสมัครเล่นไม่ยากอย่างที่คุณคิด "