วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

OIKey-F88 Morse Keyer Homebrew

มีเพื่อน ๆ ถามผมมาหลายท่านเรื่อง Morse Machine ว่าจะทำยังไงดี จะหาซื้อก็มีราคาแพงเหลือหลาย

เมื่อหลายปีก่อน มีพี่ชายใจดีของผม พี่วรา (พี่ป้อม) E21AOY Also JE6HAM , KE2Y เคยนำของดี ๆ จากแดนปลาดิบมาให้ได้ทำกัน เป็นชุดคิท ก็เลยเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางรุ่นใหม่ ๆ น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ในการฝึก และใช้ในการติดต่อสื่อสารใน HF

OIKey-F88 เป็น Morse Machine และ Simulator ในตัวมันเอง พัฒนาโดยนักวิทยุสมัครเล่นชาวญี่ปุ่น MR.Hidaka สัญญาณเรียกขาน JA1HHF ซึ่งการใช้งานนั้น ผู้ใช้สามารถที่จะใช้เป็นตัวสร้างสัญญาณรหัสมอร์สแบบปกติ , แบบการอัดไว้ล่วงหน้า และสำหรับการฝึกรับ โดย OIKey-F88 นี้จะ Random สัญญาณเรียกขานต่าง ๆ จากทุกมุมโลกออกมาให้ท่านได้ฝึกรับ เสมือนท่านอยู่ในบรรยากาศใกล้เคียงการติดต่อจริง

OIKey-F88 ได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือ CQ HAM RADIO เดือนมิถุนายน ปี 2008 เป็น Keyer ที่ปรับ speed ช้า-เร็วแบบ VR volume หมุน เพื่อสะดวกในการใช้งานจริง สามารถส่งแบบ repeat รวมทั้งมี 4 channel message memory บันทึกตัวอักษร & ตัวเลข ไว้เรียก CQ ใช้แข่งขัน contest หรือข้อความที่ใช้บ่อยๆ ได้ 4 ช่อง memory ข้อมูลไม่ถูกลบแม้ไม่มีไฟเลี้ยง, สามารถบันทึก-ลบข้อมูลได้ล้านครั้ง และสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ 40 ปี

จากต้นฉบับผมได้ปรึกษาพี่ต๊อบ HS0NNU ในการที่จะ Modified ให้เพิ่ม Speed ได้มากขึ้น และเสียงที่ดังขึ้น อีกทั้งอุปกรณ์บางอย่างที่จะต้องดัดแปลง เพราะว่าไม่มีขายในเมืองไทย โดยบางอย่างต้องแปลงดังนี้

1. XTAL แบบ 3 ขา แนะนำให้ใช้ XTAL แบบธรรมดา ที่มีขายในบ้านเราได้ แต่ที่มีขายในบ้านเราเป็นแบบ 2 ขา ต้องใช้ C เซรามิค 30pf 16V ขึ้นไป มาต่อ คล่อมที่ขา 1 กับ ขา 2 และ ขา 2 กับ ขา 3 (ใช้ 2 ตัว) (เครดิตอาจารย์ต๊อบ / HS0NNU)

2. Voltage Regulator TA48M05F บ้านเราก็ไม่มีเช่นกัน ให้ใช้ LM2940CT-5.0 แทน มีขายที่ electronics Source (เครดิตอาจารย์ต๊อบ / HS0NNU)

3. Buzzer ให้ใช้เบอร์ OBO-1206C-A2 ที่ electronics source เช่นเดียวกัน (เครดิตอาจารย์ต๊อบ / HS0NNU)

4. Variable resistor ให้ใช้ B5K แทนได้ และจะได้ speed มากกว่า (อันนี้ผมลองเอง)
นอกนั้นหาอุปกรณ์อื่น ๆ หาได้ตามบ้านหม้อทั่วไป

5. ปุ่มสวิทย์ แนะนำให้ใช้สวิทย์นอกจะดีกว่า เพราะกดสะดวก ใช้เป็นแบบ 2 ขา ดูบนแผ่นปรินท์ จะ Jump แค่ 2 ขาเท่านั้น

ุ6. Jack Radio and Jack Paddle เช่นเดียวกัน ต่อลอยจะสวยกว่า ดูจากหลังปรินท์ จะเป็นจุดที่ใช้ ซึ่ง Jack Radio ใช้ 2 เส้น ส่วน Jack Paddle ใช้ 3 เส้น

7. แนะนำให้ต่ออุปกรณ์ลอยจะดีกว่า เพราะทำให้ลงกล่องง่ายขึ้น วิธีการเจาะกล่อง ให้ทำแผ่น Plate ขึ้นมาก่อน โดยอาจจะวาดจากในคอม แล้วปรินท์ด้วยกระดาษสติกเกอร์ จากนั้นให้เอาสติกเกอร์ใส หุ้มทับอีกทีจะดูสวยงามมาก

8. การเจาะกล่องหากเป็นกล่องอลูมิเนียม แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่เป็นแบบกลมจะดีกว่า เพราะเจาะง่าย หากเป็นสี่เหลี่ยม จะทำให้การเจาะยาก และจะไม่ค่อยสวย

สำหรับ HEX File สามารถ Download ได้ที่ http://www.hi-ho.ne.jp/hida/pic45.htm

สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจลองทำกันดูนะครับ หรือถ้ามีคำถามก็ทิ้งไว้ที่เพจนี้ได้นะครับ จะได้มีของเล่นใหม่ ๆ ได้ใช้งานกันครับ

Many Thank
JA1HHF คุณฮิดากะ ที่ทำของเล่นอย่างดีออกมาให้พวกเราใช้
E21AOY พี่ป้อม ที่แปลวิธีใช้ , และข้อมูลต่าง ๆ มาให้พวกเราได้ใช้ของดีกัน
HS0NNU พี่ต๊อบ ที่ช่วย Modified ให้สามารถใช้งานได้เกิดประโยชน์สูงสุด และแปลงอุปกรณ์ที่มีในท้องตลาดให้ใช้งานแทนกันได้


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น